วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

คาร์ล ลาร์สสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คาร์ล ลาร์สสัน
Carl Larsson
Larsson - Self Portrait.jpg
ภาพเหมือนตนเอง, ค.ศ. 1895

วันเกิด28 พฤษภาคม ค.ศ. 1853
สตอกโฮล์มประเทศสวีเดน
วันเสียชีวิต22 มกราคม ค.ศ. 1919
เชื้อชาติสวีเดน
สาขาจิตรกรรม
ประเภทงานภาพชีวิตประจำวัน
คาร์ล ลาร์สสัน (อังกฤษCarl Larsson) (28 พฤษภาคม ค.ศ. 1853 - 22 มกราคม ค.ศ. 1919) เป็นจิตรกรและนักตกแต่งภายในชาวสวีเดนของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ผู้มีบทบาทสำคัญในขบวนการศิลปะหัตถกรรม

ประวัติ[แก้]

คาร์ล ลาร์สสันเกิดในบริเวณเมืองเก่าของสตอกโฮล์ม บิดามารดาของลาร์สสันมีฐานะยากจนแสนเข็ญ ชีวิตในวัยเด็กเป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยความทุกข์ เรนาเต พูโวเกิลในหนังสือ “Larsson” กล่าวถึงชีวิตยามเยาว์วัยว่า “แม่ถูกไล่ออกจากบ้านพร้อมด้วยคาร์ลและน้องชายโยฮัน หลังจากย้ายจากบ้านที่อยู่ชั่วคราวหลายหลังครอบครัวก็ย้ายไปอยู่ที่ในปัจจุบันคือเอิร์สเตอร์มาล์ม ที่พำนักนี้แต่และห้องก็อยู่ด้วยกันสามครอบครัว สภาพที่้ทั้งเสื่อมโทรมทั้งโสโครกที่บั่นทอนทั้งร่างกายและจิตใจ สภาวะดังกล่าวเป็นแหล่งเผยแพร่โดยธรรมชาติของอหิวาตกโรค
บิดาของคาร์ลเป็นคนไม่เอาถ่านผู้ทำงานเป็นกรรมกร ทำงานในเรือเป็นคนเติมถ่านหินบนเรือที่วิ่งไปยังสแกนดิเนเวีย และหลุดข้าเช่าที่โรงสีที่อยู่ไม่ไกลนัก ในที่สุดก็กลายเป็นเพียงคนแบกข้าว ลาร์สสันกล่าวถึงบิดาว่าเป็นผู้ปราศจากความรัก, ผู้ขาดการควบคุมตนเอง เป็นคนติดเหล้า, โวยวายเสียงดัง และ มีความโกรธเกลียดลาร์สสันจนตลอดชีวิต เมื่อกล่าวว่า “ฉันสาปแช่งวันที่เจ้าเกิด” ส่วนแม่ต้องเป็นผู้เลี้ยงครอบครัวมาโดยตลอดจากการทำงานเป็นคนซักผ้า[1]
Karin Bergööภรรยาของลาร์สสัน
พรสวรรค์ทางศิลปะของลาร์สสันอาจจะมาจากตาผู้เป็นจิตรกร เมื่ออายุได้ 13 ยาค็อปสันผู้เป็นครูที่โรงเรียนสำหรับเด็กยากจนก็ยุให้ลาร์สสันสมัครทุน "principskola" ของราชสถาบันศิลปะสวีเดน ซึ่งงลาร์สสันก็เข้าได้ ระหว่างปีสองปีแรก ลาร์สสันมีความรู้สึกมีฐานะด้อยทางสังคม, สับสน และ ขี้อาย ในปี ค.ศ. 1869 เมื่ออายุได้ 16 ปีลาร์สสันก็ได้เลื่อนไปเข้า "antique school" ในสถาบันเดียวกัน ตั้งแต่นั้นลาร์สสันก็เริ่มมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น และถึงกับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในชีวิตของนักศึกษา ลาร์สสันได้เหรียญรางวัลแรกจากงานลายเส้นภาพเปลือย ในช่วงเดียวกันก็ทำงานเป็นนักเขียนภาพล้อเลียนบุคคลสำหรับหนังสือพิมพ์ชวนขัน "คาสเปอร์" และศิลปินคลาสสิกสำหรับหนังสือพิมพ์ "Ny Illustrerad Tidning" เงินเดือนประจำปีที่ได้มาก็พอเพียงสำหรับช่วยเหลือจุนเจือบิดามารดาด้วย
ค่ำก่อนวันคริสต์มัส (ค.ศ. 1904–ค.ศ. 1905)
Frukost under stora björken ("อาหารเช้าใต้ต้นเบิร์ชใหญ่"), ค.ศ. 1896
หลังจากทำงานอยู่หลายปีเป็นนักเขียนภาพประกอบหนังสือ, นิตยสาร และ หนังสือพิมพ์แล้วลาร์สสันก็ย้ายไปยังกรุงปารีสในปี ค.ศ. 1877 ไปใช้เวลาอันลำบากเป็นศิลปินที่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก ลาร์สสันไม่มีความกระตือรือร้นที่จะทำความรู้จักกับศิลปินหัวก้าวหน้ากลุ่มอิมเพรสชันนิสม์ ได้แต่คบหากันอยู่ในหมู่ศิลปินสวีเดนด้วยกัน และปิดทางตนเองจากขบวนการทางศิลปะที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในกรุงปารีสในขณะนั้น
หลังจากใช้เวลาสองฤดูร้อนอยู่ที่บาร์บิซงซึ่งเป็นที่พำนักของศิลปินนอกสถานที่ ลาร์สสันก็กลับไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในหมู่เพื่อนจิตรกรสวีเดนด้วยกันในปี ค.ศ. 1882 ที่เกรซ-เซอร์-ลอยนจ์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของหมู่ศิลปินสแกนดิเนเวียนอกกรุงปารีส ที่ที่เกรซ-เซอร์-ลอยนจ์ลาร์สสันได้มีโอกาสทำความรู้จักกับเพื่อนศิลปินคาริน แบร์กูอูผู้ต่อมามาเป็นภรรยา จุดนี้เป็นจุดที่ชีวิตเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ที่เกรซลาร์สสันเขียนงานบางชิ้นที่เป็นงานสำคัญ ซึ่งเป็นงานสีน้ำที่ต่างเป็นอย่างมากจากวิธีการเขียนด้วยสีน้ำมันที่เคยเขียนมาก่อน
คาร์ลและคารินมีบุตรธิดาด้วยกันแปดคน และครอบครัวกลายเป็นแบบวาดอันสำคัญของลาร์สสัน ในปี ค.ศ. 1888 ครอบครัวลาร์สสันก็ได้รับบ้านหลังเล็กๆ จากบิดาของคารินชื่อ “Little Hyttnäs” ที่ซุนด์บอร์น คาร์ลและคารินตกแต่งบ้านตามรสนิยมศิลปินของตนเอง และตามความจำเป็นของครอบครัวที่เติบโตขึ้น
งานเขียนภาพและหนังสือเกี่ยวกับบ้านหลังนี้เป็นงานเขียนสำคัญที่สุดของการเขียนบ้านศิลปินหลังหนึ่งในโลก ที่เป็นการถ่ายทอดรสนิยมศิลปะของผู้สร้างผู้ออกแบบ และ กลายมามีอิทธิพลต่อการออกแบบตกแต่งภายในของสวีเดนต่อมา บ้านหลังนี้ในปัจจุบันเป็นของผู้สืบเชื้อสายมาจากคาร์ลและคาริน และเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
ความเป็นที่นิยมของลาร์สสันเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก หลังจากการการพัฒนาเทคโนโลยีของการพิมพ์สี (color reproduction) ในคริสต์ทศวรรษ 1890 เมื่อนักพิมพ์สวีเดนบอนนิเยร์ตีพิมพ์หนังสือที่เขียนและวาดภาพประกอบโดยลาร์สสันที่ประกอบด้วยภาพพิมพ์สีอันสมบูรณ์ของงานสีน้ำ เช่นภาพ “บ้าน” แต่ราคาการตีพิมพ์ด้วยเทคนิคดังกล่าวก็ยังสูงอยู่จนกระทั่งมาถึงปี ค.ศ. 1909 เมื่อมาพิมโดยสำนักพิมพ์เยอรมันของคาร์ล โรเบิร์ต ลางวีชเชอร์ (ค.ศ. 1874–ค.ศ. 1931) ราคาจึงได้ต่ำลง งานพิมพ์ที่เลือกสรรมาจากบทประพันธ์, ภาพวาดลายเส้น และ จิตรกรรมสีน้ำ “Das Haus in der Sonne” (ไทยบ้านท่ามกลางแสงแดด) กลายเป็นงานขายดีอันดับหนึ่งในเยอรมนีในปีนั้น ที่ขายได้เป็นจำนวนถึง 40,000 เล่มภายในสามเดือน และตีพิมพ์ใหม่อีก 40 ครั้งมาจนถึงปี ค.ศ. 2001 ซึ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่สองสามีภรรยาเป็นอันมาก
นอกจากนั้นก็ยังวาดภาพชุดเรื่อง (sequential picture stories) ซึ่งทำให้ลาร์สสันกลายเป็นหนึ่งในนักวาดภาพคอมมิคคนแรกคนหนึ่งของสวีเดน[ต้องการอ้างอิง]
ลาร์สสันถือว่างานขนาดใหญ่เช่นงานจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนในสถานศึกษา, พิพิธภัณฑ์ และ สิ่งก่อสร้างสาธารณะอื่นๆ เป็นงานสำคัญที่สุดที่ทำ งานขนาดใหญ่ชิ้นสุดท้ายที่เขียนคือ “Midvinterblot” (ไทยกลางฤดูหนาว) ซึ่งเป็นงานจิตรกรรมสีน้ำมันที่มีขนาด 6x14 เมตร ที่เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1915 ภาพนี้เป็นภาพที่ได้รับการจ้างให้เขียนสำหรับผนังพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์แห่งชาติแห่งสวีเดน ที่มีจิตรกรรมฝาผนังอื่นๆ ของลาร์สสันอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว แต่เมื่อเขียนเสร็จกลับไม่ได้รับการยอมรับโดยคณะกรรมการของพิพิธภัณฑ์ ภาพเขียนภาพนี้เป็นภาพพิธีเบลิท (Blót) ของพระเจ้าโดมาลเดอที่เทวสถานอุปซอลา

ผลงาน[แก้]

“Våren” (ไทยฤดูใบไม้ผลิ) (ค.ศ. 1907)
ในงานบันทึกความทรงจำ “Jag” (ไทยข้าพเจ้า) ที่พิมพ์หลังจากการเสียชีวิต ลาร์สสันกล่าวถึงความผิดหวังและขมขื่นที่ได้รับจากการปฏิเสธภาพเขียนโดยคณะกรรมการของพิพิธภัณฑ์ เพราะลาร์สสันถือว่าเป็นงานชิ้นที่ดีที่สุดที่ได้เคยทำมา “ชะตากรรมของ “Midvinterblot” ทำให้ข้าพเจ้าต้องผิดหวังเป็นอันมาก! ข้าพเจ้ายอมรับว่ามีความโกรธอย่างมหันต์ แต่ก็อาจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นก็ได้ เพราะความรู้สึกของข้าพเจ้าบอกกับตนเองว่าภาพนี้แม้ว่าจะมีจุดอ่อนหลายประการ แต่สักวันหนึ่งเมื่อข้าพเจ้าตายไปแล้วภาพนี้ก็จะได้รับยอมรับกันมากว่าในปัจจุบัน”
ลาร์สสันยอมรับในหนังสือเล่มเดียวกันว่าภาพเขียนของครอบครัวและบ้าน “กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ยั่งยืนที่สุดของงานเขียนในชีวิต เพราะเป็นภาพที่เป็นการแสดงออกอย่างแท้จริงถึงบุคลิกของข้าพเจ้า, ของความรู้สึกอันลึกล้ำที่สุด และของความรักอันไม่มีขอบเขตที่มีภรรยาและบุตรของข้าพเจ้า”
ความขัดแย้งระหว่างปรัชญาตระกูลต่างๆ ของศิลปินสวีเดนทำให้ “Midvinterblot” กลายเป็นเรื่องที่ดำเนินการถกเถียงกันต่อมาเป็นเวลาหลายปี ในปี ค.ศ. 1987 ถึงกับประกาศอุทิศภาพเขียนนี้ให้แก่พิพิธภัณฑ์ให้นำไปติดตั้งบนผนังที่ตั้งใจจะติดตั้งโดยไม่คิดมูลค่า แต่ทางพิพิธภัณฑ์ก็ยังไม่ยอมรับ ภาพเขียนนี้จึงได้รับการขายให้แก่นักสะสมชาวญี่ปุ่นฮิโระชิ อิชิซุคะ ในปี ค.ศ. 1992 อิชิซุคะตกลงให้พิพิธภัณฑ์ขอยืมไปตั้งแสดงเนื่องในโอกาสการแสดงนิทรรศการคาร์ล ลาร์สสันครั้งสำคัญ บนผนังที่ตั้งใจจะติดตั้งแต่เดิม ปฏิกิริยาของประชาชนที่มีต่อ “Midvinterblot” หันเหทัศนคติของ “ผู้เชี่ยวชาญ” ซึ่งทำการรวบรวมเงินกันซื้อภาพเขียนคืนจากอิชิซุคะในปี ค.ศ. 1997 และนำไปติดตั้งบนผนังที่ตั้งใจจะติดตั้งตั้งแต่แรก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น