วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media 

Development) 






โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media Development)
หนุ่มน้อยเจ้าปัญญา



               1.นางสาว ศศิธร            เทียมสวรรค์

   2.นางสาว กนกวรรณ     นบนอบ

   3.นางสาว วราภรณ์        ราชานาค





โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  วิทยาลัยภูเก็ตเทคโนโลยี  

ภาคเรียนที่  1   ปีการศึกษา  2554










อนุมัติโครงงาน



โครงงาน  หนุ่มน้อยเจ้าปัญญา

ผู้จัดทำโครงงาน         



  1.นางสาว ศศิธร   เทียมสวรรค์

  2.นางสาว กนกวรรณ   นบนอ

 3.นางสาว วราภรณ์   ราชานาค

อาจารย์ที่ปรึกษา                อาจารย์ ปราโมทย์  ทองใหม่
                       
ได้รับอนุมัติให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์  วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ตปีการศึกษา  2554
                                   

                                                                        




                                                          
                                                            O อนุมัติ              O ไม่อนุมัติ
                                                                          

                                                                              
ลงชื่อ……………………………………
..
                                                                           (   นางสาว ศศิธร  เทียมสวรรค์ )

                                                                                                                นักศึกษา

                                                                               
ลงชื่อ……………………………………..

                                                                                             (      นายปราโมทย์  ทองใหม่      )

                                                                                                    อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน












บทที่  1
บทนำ

                                       ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

                ปัจจุบัน สื่อ” มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ทำให้นักเรียน 

นักศึกษาในแต่ละลสาขาวิชา โรงรียนจึงมีแนวคิดส่งเสริมให้นักศึกษารุ่นใหม่ ที่มีความชื่น

ชอบในการทำภาพยนตร์ และพัฒนาให้เป็นขุมพลังในอนาคตของวงการภาพยนต์ไทย โดย

เปิดเวทีสำหรับการสร้างหนังสั้นขึ้นมาในหัวข้อ สร้างสรรค์เพื่อสังคม” คือการนำแรง

บันดาลใจที่ได้รับจากการศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษาที่เข้าสู้รั้วของโรงเรียน และมีการ

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่าง ๆ  มาสร้างเป็นหนังนั้นเอง โดยโครงการ สร้างสรรค์เพื่อ

สังคม”   เป็นการประกวดหนังสั้นสำหรับนักศึกษา ซึ่งผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องสร้างหนัง

ซึ่งมีที่มาหรือได้แรงบันดาลใจจากพฤติกรรมที่ประสบพบเห็นของตัวเองหรือเพื่อน ๆ ก็ได้ ไม่

จำกัดประเภท ไม่จำกัดแนว ไม่จำกัดความคิดสร้างสรรค์และมุมมองในการนำเสนอเรื่องราว 

ไม่จำกัดประเภทสื่อบันทึกภาพ (กล้องวิดีโอ กล้องจากโทรศัพท์มือถือฯ) ซึ่งเชื่อว่าหาก

ถ่ายทอดความคิดออกมาได้โดนใจ หนังฟอร์มเล็กก็มีโอกาสจะกลายเป็นหนังฟอร์มใหญ่ได้ใน

อนาคต อีกทั้งทางโรงเรียนยังมีการจัดกิจกรรม "อบรมการทำหนังสั้น" โดยวิทยากรและทีมผู้

เชี่ยวชาญในวงการภาพยนตร์ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างทักษะการสร้างภาพยนตร์ให้กับผู้เข้าร่วม

ประกวดอีกด้วยในอนาคต ซึ่งเนื้อหาของการอบรมนั้นจะครอบคลุมตั้งแต่วิธีการทำการ์ตูน 

การเขียนบท การตัดต่อ ไปจนถึงเทคนิคการทำหนังตัวอย่าง (Trailer)
วัตถุประสงค์
(1)       สร้างสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
(2)       ศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สร้างสื่อการเรียนรู้
(3)        ศึกษาการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์
(4)       เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์


ขอบเขตของโครงงาน
                การจัดทำโครงงานการ์ตูน “หนุ่มน้อยเจ้าปัญญา” เป็นการสร้างสื่อเพื่อสะท้อนสังคมในสถานศึกษาและพฤติกรรมของนักศึกษาเมื่อเข้าสู่รั้วของสถานศึกษา  ให้บุคคลภายนอกหรือศึกษาได้ดูสื่อการ์ตูนที่สร้างขึ้นมา  และในการสร้างการ์ตูนได้ใช้เพื่อน ๆ
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
1.               สร้างแนวคิดใหม่ ๆ
2.              สื่อให้สังคมได้มองเห็นพฤติกรรมของนักศึกษา
3.              ประยุกต์ใช้โปรแกรมได้หลากหลาย
4.              เพิ่มทักษะในการใช้โปรแกรมให้กับตัวเอง

วิธีดำเนินงาน
เขียนเป็นลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงาน พร้อมตาราง Gantt chart

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.เตรียมเรื่องที่ต้องการทำ

2.หาเนื้อเรื่อง

3.นำภาพมาเรียงในสไลด์

4.พากเสียง

5.นำเสียงมาใส่ในสไลด์





       แผนปฏิบัติงาน
                                                               

          
 ตารางที่ 1-1 ระยะเวลาในการดำเนินงาน

ลำดับ
ที่
กิจกรรม
สิงหาคม54
กันยายน54
1
2
3
4
1
2
3
4
1
นำเสนอหัวข้อต่ออาจารย์ที่ปรึกษา








2
วิเคราะห์ และออกแบบระบบ  กำหนดสถานที่









3
จัดเตรียมอุปกรณ์









4
ถ่ายทำหนังสั้น









5
ตัดต่อหนังสั้น








6
นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ
































บทที่ 2  



เอกสารและโครงงานที่เกี่ยวข้อง

                ในการจัดทำโครงงานการสร้างสื่อการเรียนรู้การ์ตูน ผู้จัดทำโครงงานได้รวบรวมแนวคิดทฤษฏีและหลักการต่าง ๆ จากเอกสาร  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยสร้างพื้นฐานมาจากการนำเอาบทนิทาน หรือนิยาย มาสร้างเป็นการ์ตูน ประมาณ 13  นาที  ซึ่งสามารถพัฒนาโดยใช้โปรแกรมต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ เช่น Adobe Premiere Movie Maker, Adobe Photoshopหรือโปรแกรมอื่น ๆ โดยการนำโปรแกรมมาประยุกต์ใช้ประกอบด้วยภาพ เสียง และการแปลง File ให้เป็น  File Video  เพื่อนำไปเสนอต่อไป 

การ์ตูน
           การ์ตูนก็มีจุดกำเนิดพร้อมกันกับภาพยนตร์ที่เราดูกันเป็นปรกติทุกวันนี้ ภาพยนตร์เรื่องแรกของโลก เมื่อคนยุคสมัย 100 กว่าปีก่อนได้เข้าไปในสถานที่แห่งหนึ่ง และได้เห็นภาพที่ตัวเองที่ไม่เคยเห็นมาก่อน นั่นคือรถไฟค่อยๆ จอดเทียบชานชาลา พวกเขาเชื่อว่าตนเองเกือบจะโดนรถไฟชน    นั่นคือจุดเริ่มต้นของคำว่า “ภาพยนตร์” หนึ่งในมหรสพที่คนทุกผู้ทุกนามไม่อาจจะปฎิเสธได้แต่ในวันนี้คงจะหาดูได้ยากสักหน่อย
            การ์ตูนจะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ดำเนินและจบลงอย่างรวดเร็ว หนังสั้นทั้งหมดมักจะมีเรื่องราวหลักเพียงเรื่องเดียว ถ้าเป็นไปในนิยามมักจะกำหนดให้หนังสั้นยาวไม่เกิน 30 หรือ 40 นาที เพราะถือว่าเป็นความยาวที่พอเหมาะ  คำถามต่อมาก็คือ แล้วจะดูรู้เรื่องไหมนั่น? ไม่มีกติกาตายตัวว่าหนังสั้นจะต้องดูแล้วรู้เรื่องหรือเปล่า เพราะ เล่าเรื่องในลักษณะใดก็ได้ ทำได้แม้กระทั่งเป็นเพียง Concept หรือบอกอะไรบางอย่างให้แก่คนดูโดยที่คนดูก็ไปคิดไปตีความกันเอาเอง

หลักการ การทำการ์ตูน
1.รู้วิธีและหลักการ การเรียนstoryboardที่ถูกต้อง ทำให้รู้ว่าการจะทำหนังสั้นต้องมีstoryboardก่อน
2.รู้วิธีคิดเรื่องราวที่จะนำเอามาทำเป็นหนังสั้น ว่าหลักการมีอย่างไร
3.ได้ความรักความสามัคคี ในการทำงานเป็นกลุ่ม เพราะการทำงานเป็นกลุ่มล้วนมีอุปสรรค์แต่ทุกคนก็ผ่านมาได้
4.รู้วิธีการ ตัดต่อ ใส่เพลง ลำดับเรื่องราว และมุมกล้อง ทำอย่างไรจึงจะน่าสนใจและไม่น่าเบื่อ
1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research) เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม

2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise) หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นถ้า…” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น

3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis) คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็นstory outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)

4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment) เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำหคัญ (premise) ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ

5บทภาพ (storyboard) คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร โดยเขียนภาพ เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย



                                                            บทที่ 
ขั้นตอนการดำเนินงาน

ในการจัดทำโครงงานครั้งนี้คณะผู้จัดทำได้ใช้  เครื่องมือ ดังนี้
เทคโนโลยีที่ใช้ โปรแกรมนี้จะมี    ส่วนใหญ่ๆ คือ
-     คอมพิวเตอร์  1  ชุด
-                   ไมค์โครโฟน
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
     - Adobe Premiere  Cs3
     - Adobe Photoshop CS3
     - Macromedia Flash MX
    - สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานได้ สเปคเครื่องมีผลต่อการแปลงไฟล์สเปคสูงการแปลงไฟล์ก็จะเร็วไปด้วย ถ้าสเปคต่ำ การแปลงไฟล์จะคุณภาพต่ำ
                -  P3 800 Mz ,ram 384 M, HDD 20 G สเปคเครื่องตัวนี้จะทำให้คุณภาพที่ออกมาต่ำ และใช้เวลาแปลงไฟล์นาน
            -  Dual core 1.6 GHz , RAM 1 GB สเปคตัวนี้ถือว่าปกติ จะใช้เวลาแปลงไฟล์ 20-45 นาที
            -  AMD Turon 64x2 2.00 Ghz, Ram 2 GB, เฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 30กว่านาที
- โปรแกรม  Nero 9




บทที่ 4  

ผลการศึกษา

             จากการศึกษาการสร้างสื่อการเรียนรู้การทำการ์ตูนในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์นี้  ผู้จัดทำโครงงานได้ทำการ์ตูน เรื่อง “หนุ่มน้อยเจ้าปัญญา”   เป็นการสร้างสื่อสะท้อนสังคมของนักศึกษาในสถานศึกษา  โดยการใช้โปรแกรมAdobe Premiere, Adobe Photoshop, Nero 9  เมื่อเริ่มดำเนินการได้การเสนอหัวข้อ ชื่อเรื่องการ์ตูน  บท  ถ่ายทำตัดต่อ และบันทึกลงแผ่น เพื่อนำเสนอ  โครงการนี้มีผู้รับประโยชน์ คือ  นักศึกษา  ผู้ปกครอง  หรือบุคคลทั่วไป  และเข้าใจถึงชีวิตของนักศึกษาที่เข้าสู่รั้วสถานศึกษา   สิ่งที่สำคัญคือสังคมในปัจจุบันนั้นทุกคนต้องช่วยกันปกป้องดูแล  เพื่อให้เกิดความหลากหลายเป็นสิ่งชักจูงใจให้นักศึกษาหรือเพื่อน ๆ ที่มาเรียนรู้จักป้องกันตัวเอง และเชื่อฟังผู้ปกครองมากยิ่งขึ้น  อันจะส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เข้ามาเยี่ยมชม และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจต่อไป


บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการศึกษา
                จากการดำเนินงานจัดทำโครงงานการทำการ์ตูน “หนุ่มน้อยเจ้าปัญญา”  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชาชีพชมรมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ความคิดริเริ่มของโครงงานเพื่อให้มีการใช้โปรแกรมที่ได้ศึกษาผ่านมา และได้นำมาประยุกต์ใช้ในด้านงานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถสร้างสื่อสะท้อนชีวิตนักศึกษาที่เผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่สังคมในปัจจุบันนี้มีให้พบเห็น   โครงงานนี้ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ท่านต่าง ๆ การใช้เทคนิคการถ่ายทำ  บทแสดง  การตัดต่อ และรับความอนุเคราะห์ด้านสถานที่  โครงงานนี้ประสบผลสำเร็จออกมาเพื่อนำเสนอให้นักศึกษาได้ดูเป็นตัวอย่าง  ซึ่งมีหลากหลายมุมมองของหนังการ์ตูนเรื่องนี้

สรุปผล
          โครงงานนี้ได้ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย และประความสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  หนังสั้นที่ได้ผลิตขึ้นมาได้ฉาย หรือนำเสนอในงานวันวิชาการ ณ บริเวณ สะพานหิน  จังหวัดภูเก็ตและนักศึกษา  ประชาชน  ได้ดูเป็นตัวอย่าง  และในอนาคตจะมีการจัดทำสื่อหนังสั้นเพื่อเพิ่มสื่อออกมามากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
                ในการจัดทำโครงงานการทำหนังสั้นควรได้รับความร่วมมือ หรือได้รับการสนับสนุนด้าน เครื่องมือในการถ่ายทำหนังสั้นให้มีคุณภาพ


บรรณานุกรม
มานพ ทะชัยวงค์.  สนุกกับโครงงานคอมพิวเตอร์ กรุงเทพฯ :ไอดีซี,2547
ยุทธศักดิ์ สินธุพงศ์.คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ (โครงงานคอมพิวเตอร์) [ออนไลน์].เข้าถึงเมื่อ 16 พฤษภาคม 2554.เข้าถึงได้
http://www.montfort.ac.th/mcs/dept/computer/computer/02139/02139.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น